top of page
Easy Classroom

ระบบปฏิบัติการแบบตอบสนอง 2 ทาง "Interactive" สำหรับการเรียนดนตรี

โดยเกิดมาจากกระบวนความคิดที่ต้องการปฏิรูปการศึกษา     

ในวิชาดนตรีของโรงเรียนในระบบทั้งโรงเรียนรัฐบาล และเอกชน ด้วยวิธีคิดแบบพลิกกลับ 360 องศา 

โดยมีจุดประสงค์ยกระดับการเรียนดนตรีเพื่อเอาเด็กไม่เก่งขึ้นมาพัฒนาให้ทันเพื่อน ไม่ปล่อยทิ้งไว้กลางทาง

วิชาดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคมปัจจุบันใน 2 แง่มุมหลักคือ

 

ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเชื่อว่าเสียงดนตรีเป็นคลื่นเสียง (WAVE) และสมองมนุษย์ก็มีคลื่นไฟฟ้าอยู่ แนวทางพัฒนาสมาธิต้องพัฒนาคลื่นสมอง ด้วยดนตรีพัฒนาคลื่นสมองและดนตรีคลาสสิกสมาธิ (พัฒนาสมาธิ) เนื่องจากดนตรีกลุ่มนี้จะช่วยลดคลื่นสมองจากคลื่นสมองระดับเบต้า ที่ทำให้มนุษย์มีความสับสนทางอารมณ์และขาดสมาธิ เป็นคลื่นสมองระดับอัลฟ่า , เทตร้าหรือเดลต้า

ซึ่งเป็นสภาวะที่มนุษย์มีสมาธิจิตดีมาก นักวิจัยทางประสาทวิทยา ได้ให้ข้อมูลจากการวัดคลื่นไฟฟ้าของสมอง 

   

    ได้แสดงให้เห็นว่ามีสภาวะของคลื่นสมองของมนุษย์อยู่ด้วยกัน 4 ระดับ คือ เบต้า อัลฟ่า เตตราและ เดลต้า ซึ่งนักวิจัยได้พบว่า

คลื่นเสียงสามารถกระตุ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะคลื่นสมองของมนุษย์ได้ ซึ่งเราอาจพบคลื่นเสียงต่าง ๆ เหล่านั้นได้

ในเพลงที่เราฟังปกติทั่วไป ซึ่งคลื่นไฟฟ้าที่กำเนิดขึ้นเหล่านั้นจะเข้าไปประสานสอดคล้องกับความถี่ของคลื่นสมองในแต่ละระดับ

ซึ่งมันจะกระตุ้นให้สมองเกิดการประสานหรือ ผูกโยง กับตัวของมันเอง ไปสู่จังหวะของดนตรีที่บรรเลง

คลื่นอัลฟ่า (Alpha wave)   เป็นคลื่นสมองที่มีความถี่ 8-13 รอบต่อวินาที

คลื่นเดลต้า (delta wave)   เป็นคลื่นสมองที่มีความถี่ 0.5-3 รอบต่อวินาที

    สมาคมวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาทางด้านอารมณ์และพัฒนาการในการใช้ดนตรีเพื่อสุขภาพของญี่ปุ่น ศึกษาวิจัยพบว่าคลื่นอัลฟ่า

จะช่วยส่งเสริมความจำและความสนใจของเด็ก เมื่อจิตใจของคนอยู่ในสภาวะที่สงบนิ่ง จะเป็นช่วงที่คลื่นสมองคงที่ที่สุดและจะผลิตคลื่นอัลฟ่า ซึ่งจะทำให้ความจำของคนดีขึ้น

     

    มีสมาธิมากขึ้นและมีผลดีต่อการพัฒนาสติปัญญาทางสมอง คลื่นสมองเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งผลิตมาจากกิจกรรม

ทางเคมีชีวภาพภายในเซลล์สมองของมนุษย์ ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราเรียกว่าอีเลคโตรเอนเซฟาโลกราฟ 

(the electroencephalograph ) หรือ อีอีจี (EEG) ความถี่ของคลื่นเหล่านั้นสามารถวัดได้ด้วยรอบต่อวินาที หรือ เฮิร์ท (Hz)

คลื่นสมองสามารถเปลี่ยนความถี่พื้นฐานของมันไปตามสภาวะของกิจกรรมทางประสาทภายในสมอง ซึ่งผูกยึดกับการเปลี่ยนแปลง

ทางจิตใจ อารมณ์ และจิตสำนึก  (อริยะ สุพรรณเภษัช:2543) 

ด้านอารมณ์ (ดนตรีคลาสสิกกับการพัฒนาไอคิว) (I.Q. / E.Q.)

โมสาร์ท เอฟเฟค (The Mozart Effects) เรื่องกำเนิดมาจากการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสติปัญญาเด็กด้วยการให้เด็กฟังเพลงคลาสสิก  ได้เริ่มต้นจากข้อสมมุติฐานที่เชื่อว่าเด็กจะโตขึ้นและมีสติปัญญาฉลาดเฉลียว ถ้าได้ฟังเพลงคลาสสิก

  1. ข้อสมมติฐานดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากผลงานค้นคว้าในปี 1993 ของ Frances Rauscher นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย University of California วิทยาเขตเออร์ไวน์

  2. การวิจัยเกี่ยวกับ The Mozart Effect : เพลงคลาสสิคทางเลือกใหม่ของการพัฒนาศักยภาพสมอง ให้เกิดการเพิ่มพูน      ความทรงจำและความเฉลียวฉลาด (อริยะ สุพรรณเภษัช : 2543) หลายปีที่ผ่านมา ได้มีการทดลองซึ่งได้แสดงให้ทราบว่า    การฟังดนตรีคลาสสิคจะทำให้สามารถเพิ่มพูนความทรงจำ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกกันว่า The Mozart Effect เพราะว่าเพลงที่คัดเลือกมาใช้ในการเพิ่มพูนความจำนั้นเป็นเพลงของ Wolfgang Amadeus Mozart ประชาชนที่ได้อ่านรายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้  จากวารสารและหนังสือพิมพ์ชื่อดังต่าง ๆ ก็สนใจที่จะฟังเพลงคลาสสิค เพราะว่ามันน่าจะเป็นวิถีทางที่ดีที่จะเพิ่มพูนความจำ    และเพิ่มความเฉลียวฉลาดทางปัญญา

  3. การทดลองนี้จุดเริ่มต้นได้ตีพิมพ์ที่ The Journal Nature โดยคณะนักวิทยาศาสตร์ ของ University of California            ที่เมือง Irvine ในปี 1993 คณะวิจัยได้ทำการวิจัยโดยใช้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มกำหนดให้ฟังเสียงต่อไปนี้ 10 นาที  ได้แก่

                   1.  เพลง  sonata for two pianos in D major ของ Mozart

                   2.  เพลง  relaxation

                   3.  ความเงียบ silence

 ในทันทีหลังจากได้ฟังสิ่งที่คัดเลือกเหล่านั้น นักศึกษาแต่ละคนจะได้รับแบบทดสอบวัดทักษะเหตุผลด้านมิติสัมพันธ์              (Spatial Reasoning Test) จาก The Stanford-Binet Intelligence Test ผลได้แสดงว่าคะแนนของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลังจากได้ฟังเพลงของโมสาร์ท เมื่อเปรียบเทียบกับการฟังเพลงจากเทป relaxation และ เด็กที่นั่งนิ่ง ๆ และไม่เปิดเพลง (ความเงียบ) ภายใต้เวลาที่ผ่านไป

10-15 นาทีที่คณะวิจัยได้ทดลองกับกลุ่มทดลอง ซึ่งพวกเขาได้มีความเชื่อว่าความทรงจำจะสามารถถูกเพิ่มพูนได้เพราะว่า ดนตรีและความสามารถของทักษะด้านมิติสัมพันธ์ และการจินตนาการเกี่ยวกับตำแหน่งและเนื้อที่ของวัตถุในระบบ 3 มิติ และทักษะความฉลาดในการใช้

ช่องว่าง (spatial abilities) ภายในสมองจะมีความสัมพันธ์ร่วมกันภายในสมอง ดังนั้นพวกเขาจึงได้ข้อสรุปว่าดนตรี มีส่วนในการช่วยกระตุ้นสมองสำหรับการทดสอบเพลงของโมสาร์ท ต่อมาได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็กทารก

โดยเชื่อว่าถ้าทารกคนไหนได้ฟังเพลงโมสาร์ทเป็นประจำ ทารกคนนั้นโตขึ้นจะมีสมองดี

  นอกจากนี้ ความรู้ดังกล่าวยังได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้นเพราะต่อมาไม่นาน รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ ก็ได้ออกกฎบังคับให้เด็กเกิดใหม่ทุกคน ต้องได้รับการแจกแผ่นดิสก์บทเพลงของโมสาร์ท ตามด้วยรัฐฟลอริดา ที่ได้บังคับให้เด็กนักเรียน  ทุกคนต้องฟังเพลงดนตรีคลาสสิกทุกวันที่ไปโรงเรียน

ดร. Kenneth Steele และคณะ (1999) รายงานการวิจัยของคณะนักวิจัยที่ Appalachian State University 

โดยตีพิมพ์ใน  Issue of  Psychological Science ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม 1999  Vol.10  Pages 366-369 

ดร.Kenneth Steele และ ผู้ร่วมงานวิจัย ซึ่งได้รายงานอธิบายสรุปสภาวะที่เกิดขึ้นกับสมองดังนี้ (อริยะ สุพรรณเภษัช:2543) 

“มีเหตุต่าง ๆ อยู่เล็กน้อยที่เป็นพื้นฐานที่จะช่วยสนับสนุนความเฉลียวฉลาด” ผู้วิจัยได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบ

ความมหัศจรรย์ของดนตรี ซึ่งได้มีการเจาะลึกถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมด้านดนตรีกับทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผล

เชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (Spatial-Temporal Reasoning) พวกเขาเลือกนักเรียนอนุบาล อายุอยู่ระหว่าง 3-4 ปี มาทำการทดลอง

อยู่ 8 เดือน โดยเด็กนักเรียนถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

                  กลุ่มที่ 1   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ด (Keyboard lessons)

                  กลุ่มที่ 2   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านการร้องเพลง (Singing lessons)

                  กลุ่มที่ 3   ให้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer lessons)

                  กลุ่มที่ 4   ไม่ได้รับการอบรม (No lessons)

หลังจากการปฏิบัติ 8 เดือน เด็กเหล่านั้นได้ถูกทดสอบพวกเขาในความสามารถทางด้าน ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์

สิ่งต่าง ๆ (spatial-temporal reasoning) และทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง (Spatial-recognition reasoning) ผลปรากฎว่า

พวกเขาพบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ด สามารถทำคะแนนจากการทดสอบ ความสามารถทางด้าน ทักษะการคิดวิเคราะห์เหตุผลเชิงความสัมพันธ์สิ่งต่าง ๆ (the spatial-temporal test) ได้เพิ่มพูนขึ้น แม้แต่ว่าการทดลองต่อมาจะใช้เวลาสำหรับ

การอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียว เด็กเหล่านั้นก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของคะแนน

แต่เด็กกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ในการทดสอบคะแนนจากแบบทดสอบทักษะความทรงจำเกี่ยวกับรูปร่าง

(Spatial-recognition test) สำหรับการอบรมบทเรียนทางด้านคีย์บอร์ดเพียงวันเดียว พบว่ามีการเพิ่มพูนขึ้นของคะแนน

แต่สำหรับกลุ่มอื่นไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของคะแนน การทดลองนี้ยืนยันเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพทางสมอง

ดังนั้นจากผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ได้รายงานสอดคล้องต้องกันถึงประโยชน์ของดนตรีในฐานะ ที่อาจเป็นปัจจัยหนึ่ง

ที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดของมนุษย์ แต่ต้องเป็นดนตรีที่เกิดจากการฟังอย่างตั้งใจ หาใช่เพียงแค่การได้ยินอย่างเดียว

และควรได้เล่นดนตรีไปด้วยจะดีที่สุด

       ด้วยเหตุผลที่ดนตรีมีผลต่อการพัฒนาทางตรงและทางอ้อมแก่มนุษย์ ทางบริษัทจีบีวาย ดิจิตอล เทค จำกัด

จึงได้พัฒนาหลักสูตรดนตรีสำหรับประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนทฤษฎีผ่านระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย

และเรียนปฏิบัติด้วยเปียโนไฟฟ้า โดยทั้งการเรียนทฤษฎีและปฏิบัติจะต้องใช้โปรแกรม Easy Classroom System เพื่อจัดการคาบเรียน

และเก็บผลการเรียนของนักเรียนส่วนบุคคล โดยวัตถุประสงค์สำหรับการเรียนดนตรีมีดังนี้

วัตถุประสงค์

เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-6 และเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 ที่เรียนดนตรี

ด้วยระบบปฏิบัติการ Easy Classroom System เมื่อเรียนผ่านไป 3 – 6 ปี จะต้องบรรเลงเปียโนได้ทุกคน

ผลสัมฤทธิ์

เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 บรรเลงเพลงคลาสสิคด้วย 2 มือมีระดับโน้ตแบบ ตัวดำ ตัวขาว เขบ็จ 1 ชั้น ได้

เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 บรรเลงเพลงคลาสสิค ด้วย 2 มือ มีระดับโน้ตแบบ ตัวดำ ตัวขาว

เขบ็จ 1 ชั้น / เขบ็จ 2 ชั้น ได้ หรือสามารถบรรเลงบทเพลง โซนาต้าใน Beginner Level ถึง Intermedia Level ได้

รูปแบบการเรียน

รูปแบบการเรียนการสอนดนตรีด้วยคีย์บอร์ด ในโรงเรียนต่าง ๆ ในปัจจุบัน (พ.ศ.2564)

ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดนตรีของนักเรียน อิงรูปแบบห้องดนตรีที่มีครูสอน 1-2 คน / คาบ

โดยกำหนดมาตรฐานจากนักเรียนประมาณ 40 คนต่อ 1 ห้องเรียน

ทักษะสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนดนตรี

คิดเป็นร้อยละ

80 -100

70 - 80

60 -70

น้อยกว่าร้อยละ 60

คิดเป็นจำนวนคน

8 -10

10 - 12

10 - 12

3 - 6

คิดเป็นร้อยละต่อห้องเรียน

25

30

30

15

จากตารางรูปแบบการเรียนด้านบน จะเห็นได้ว่ามีเด็กที่สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนดนตรีในระดับพอใช้จำนวนร้อยละ

30 และมีเด็กที่สัมฤทธิ์ผล ทางการเรียนดนตรีในระดับต่ำกว่าเกณฑ์จำนวนร้อยละ 15 ซึ่งจะได้เห็นว่า  

มีนักเรียนที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนถึง 45 % ของชั้นเรียน

ที่ผ่านมาทุกโรงเรียนก็เอาเด็กเก่ง 20 – 25 % ไปขึ้นป้ายโชว์ผลงานหน้าโรงเรียน และเด็กอีกจำนวนไม่น้อยที่ถูกทิ้งไว้กลางทาง ซึ่งครูอาจารย์ควรทำให้เกณฑ์ทั้งห้องได้ "เด็กสัมฤทธิ์ผลมากกว่า 95%" แต่มันยาก!! 

ทางบริษัทจีบีวาย ดิจิตอล เทค จำกัด จึงได้ออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยจัดการในการเรียนการสอนดนตรีให้กับคุณครู

เพื่อหวังผลสัมฤทธิ์มากกว่า 95% โดยระบบ Easy Classroom เป็นระบบการเรียนดนตรีแบบ "Interactive"

ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยมีหลักคิดและวิธีปฏิบัติดังนี้

ขั้นตอนการเรียนดนตรีด้วย Easy Classroom System

วิธีการ

นักเรียนเดินเข้ามาและนั่งประจำที่เปียโนไฟฟ้า 1 คน ต่อ 1 เครื่อง

 

นักเรียน Login ด้วยรหัสนักเรียน 5 หลัก

ครูเปิดสาระแกนกลางให้เรียน 5 นาที โดยเรียนผ่าน Tablet หรือ iPad ที่มีการเชื่อมต่อระบบ Midi file

(เรื่องดนตรีในสาระแกนกลางบางเรื่อง "ต้องรู้" แต่ไม่จำเป็น "ต้องจำ" เช่นประวัติดนตรีสมัยสุโขทัย เด็ก ๆ

เรียนรู้สาระแกนกลางด้านทฤษฎีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีผ่านวีดีโอกราฟฟิคที่สวยงาม

น่าสนุกน่าติดตาม เห็นภาพจริง

ทำข้อสอบแกนกลางแบบปรนัย 5 ข้อ หากตอบถูกต้องคะแนนจะโชว์ขึ้นมาทันที หากทำผิดระบบจะเฉลย

ข้อที่ถูกต้อง เพื่อนักเรียนจะได้ทราบทันที

เรียนเปียโนกับวีดีโอ

เวลาในการเรียน / นาที

5

2

5

5

25

มีครูสอน และสาถิตการบรรเลงให้นักเรียนดู และให้นักเรียนบรรเลงไปพร้อม ๆ กับคุณครู

(1 เทอม จะมี 16 Exercise ) + (1เพลงสอบ)

วิธีการ

บรรเลงแบบฝึกหัดที่เพิ่งเรียนจบไปใน 3 ความเร็ว

  60 BPM จำนวน 2 รอบ

  70 BPM จำนวน 2 รอบ

  80 BPM จำนวน 2 รอบ

 

สอบเสร็จครูจะกดส่งคะแนน เพื่อบันทึกเข้าสู่ใบ ปพ.5 หากคะแนนเด็กคนใดไม่ถึง 75 %

จะขึ้นชื่อสีแดง และครูจะเรียกมาซ่อมเสริมอีกครั้ง

รวมเวลาที่ใช้เรียน

เวลาในการเรียน / นาที

6

3

51

bottom of page