
FUNCTION





ฟังก์ชั่นของการสอนบรรเลงเพลงฮิตด้วย กีต้าร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด
แต่ละวีดีโอมีครูผู้สอนบรรเลงให้ดู พร้อมโน้ตสำหรับเครื่องดนตรี
แต่ละประเภทให้ดาวน์โหลดฟรี โดยผู้เรียนสามารถเลื่อนเครื่องมือ
ให้วีดีโอช้าลงได้ เพื่อจะเล่นตามได้อย่างถูกต้อง หากเพลงไหนมีเทคนิค
การเล่นเครื่องดนตรีนั้นในระดับสูง ครูผู้สอนจะสร้างคลิปแนะนำเทคนิคอย่างละเอียดใต้คลิปสอน โดยจะเป็นหัวข้อ Tip & Trick
และมีไอคอนให้โหลด Note / Tab สำหรับเครื่องดนตรีนั้น ๆ
ฟังก์ชั่นของผู้ที่มีความประสงค์จะเล่นเปียโนให้ได้ระดับมืออาชีพ
โดยสอนตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงระดับแอดวานซ์ แบ่งออกเป็นจำนวน 24 เกรด แต่ละเกรดจะมี 16 Exercises และ 1 Exam ผู้เรียนจะต้องบรรเลงเปียโน
ตามครูผู้สอนในวีดีโอ หากผู้เล่นมีการเชื่อมต่อแอพ ฯ เข้ากับระบบ
Midi ของเปียโน จะทำให้ผู้เล่นได้ ทราบคะแนนที่เล่นในแต่ละรอบด้วย
สำหรับฟังก์ชั่น Classroom ที่มีระบบ School Management นั้นมีรายละเอียด
สำหรับโรงเรียนค่อนข้างเยอะ ที่สรุปให้พอได้เห็นภาพคร่าว ๆ มีดังนี้
สำหรับระบบสอนดนตรีในชั้นเรียน เมื่อนักเรียนเข้ามาในห้อง นักเรียนจะนั่งตามเลขที่
มีเปียโนไฟฟ้า แทบเล็ต และหูฟัง เป็นอุปกรณ์การเรียน ครูจะเรียกชั้นเรียนเช่น ป.5/3
เข้ามาในระบบโปรแกรม และที่หน้าจอแทบเล็ตนักเรียนทุกคนจะเข้าคลาสของตนโดยอัตโนมัติ
เมื่อนักเรียนกดเพลย์ นักเรียนจะได้เรียนสาระแกนกลางของวิชาดนตรี 5 นาที
และทำแบบทดสอบ 5 ข้อ โดยคะแนนที่ได้จะถูกเก็บไว้ในระบบ หากแบบทดสอบข้อไหนทำผิด นักเรียนก็จะทราบได้ทันทีว่าตัวเลือกที่ถูกต้องคืออะไร และจะได้เรียนเปียโนอีก 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีนี้ จะมีครูผู้สอนในวีดีโอออกมาสาธิตให้นักเรียนดู และปฏิบัติตาม
โดยรวมนักเรียนจะได้เล่นเปียโนแต่ละ Exercise จำนวน 30 รอบ และเมื่อเรียนจบ
จะเข้าบททดสอบเปียโนอีก 10 นาทีเพื่อเก็บคะแนน เมื่อนักเรียนทั้งห้องเล่นแบบทดสอบครบถ้วนครูจะทำการกดส่งคะแนน ซึ่งครูจะเห็นคะแนนของผู้ที่ได้ต่ำกว่า 70 % ครูก็จะแจ้งให้นักเรียน
มาเรียนซ่อมเสริมอีกครั้งจนกว่าจะผ่านเกณฑ์
ฟังก์ชั่นในการสอนบรรเลงเพลงพิธีประจำโรงเรียน โดยสอนทั้ง 9เครื่องดนตรีคือ
1.Flute 2.Clarinet 3.Alto/Tenor Saxophone 4.Trumpet 5.Trombone 6.Euphonium 7.Horn 8.Tuba 9.Percussion โดยอาจารย์ผู้สอนแต่ละเครื่องมือล้วนเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญระดับประเทศ จบการศึกษาด้านดนตรี
จากต่างประเทศ มีประสบการณ์ในการเล่นดนตรีอาชีพกับวงออเคสตร้าระดับโลก
และปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น มหิดล จุฬา ศิลปากร รังสิต ฯลฯ ในคลิปจะมีไอคอนให้โหลด Note สำหรับเครื่องดนตรีนั้น ๆ
แบคกิ้งแทรค (Backing Track) เป็นฟังก์ชั่นในการเป็นเครื่องมือ “วงดนตรีประกอบ”
ให้กับผู้เรียนในหมวด Hit Song เนื่องจากมี “คาราโอเกะ” สำหรับเครื่องดนตรี
เช่น เมื่อผู้เรียนฝึกซ้อมกีต้าร์จนสามารถบรรเลงเพลง Back in Black
ของศิลปินวง AC/DC จนคล่อง ผู้เรียนสามารถเปิดฟังก์ชั่นแบคกิ้งแทรค
และเลือกเพลงนี้ขึ้นมา พร้อมทั้งกด Mute ไลน์กีต้าร์ เมื่อผู้เรียนกด Play
จะมีซาวด์เพลงขึ้นมาครบทุกเครื่องดนตรี ไม่มีเพียงเสียงกีต้าร์
ซึ่งผู้เรียนจะต้องบรรเลงกีต้าร์เข้าไปแทน จะก่อให้เกิดทักษะต่อผู้เรียนอย่างมาก
เปรียบเสมือนได้ซ้อมกับวงดนตรีจริง ๆ

SAXSOCIETY
ฟังก์ชั่นสำหรับเรียนรู้วิธีการบรรเลงแซกโซโฟนในหลากหลายมิติ อาทิเช่น
การบรรเลงในแนวป๊อบ หรือแจ๊ส เทคนิคการอิมโพรไวเซชั่นในแบบต่าง ๆ
การบรรเลงด้วยวิธีการคิดแบบคีย์หลัก (Key Center Approach)
บรรเลงด้วยเทคนิคแบบเน้นใช้กลุ่มโน้ตให้สัมพันธ์กับคอร์ดในทุก ๆ คอร์ด
มากกว่ามองความสัมพันธ์ของคีย์หลัก (Outline Chord Changes)
เทคนิคสร้างทำนองเพลงซ้อนทับลงไปบนคอร์ด (Superimposed) ฯลฯ
ซึ่งอำนวยการสอนโดย อาจารย์โก้ แซกแมน มือแซกโซโฟนแถวหน้าของเอเชีย
และอาจารย์แซกโซโฟนมืออาชีพท่านอื่น ๆ

LEAD SHEET
เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการดาวน์โหลดโน้ตเพลงฮิต ที่จะมีทั้ง Melody Chord
และเนื้อร้อง ซึ่งจะเหมาะสำหรับนักดนตรีที่เล่นได้บ้างแล้ว โดยจะมีเพลงใหม่
เดือนละ 100 เพลง ฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในเดือนสิงหาคม 2564 นี้

SYMPHONY ORCHESTRA
เป็นฟังก์ชั่นสำหรับการดาวน์โหลดโน้ตเพลงสำหรับวงออเคสตร้า ที่จะมีทั้ง Full Score
โน้ตเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น และ MP4 สำหรับฟังเพลง มีระบบแบคกิ้งแทรค
เพื่อให้นักเรียนได้ตัดไลน์โน้ตของตนเองออก และร่วมบรรเลงไปพร้อมกับวงออเคสตร้า
โดยจะเป็นแบคกิ้งแทรคจำนวน 60 แทรค ซึ่งจะเหมาะสำหรับนักดนตรีที่เล่นได้บ้างแล้ว
โดยจะมีเพลงใหม่เดือนละ 10 เพลง มีโน้ตแต่ละเครื่องมือรวม ๆ แล้ว
600 ชีท ต่อเดือนฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้

CONCERT BAND
เป็นฟังก์ชั่น สำหรับการโหลดโน้ตเพลงของวงคอนเสิร์ตแบนด์ โดยจะมีทั้งโน้ตทุกไลน์
โน้ตฟูลสกอร์ และมีระบบแบคกิ้งแทรคที่สามารถตัดไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระเสรี
เพื่อการซ้อมส่วนตัวที่มีประสิทธิภาพ เปรียบประดุจได้ซ้อมกับวงดนตรีจริง ๆ
.jpg)
FULL SCORE
CHORD / TAB
เป็นฟังก์ชั่นที่ผลิตมาเพื่อนักดนตรี โดยสามารถเข้าไปจัดเพลย์ลิสต์ของตนเองได้ว่า
ในตอนไปเล่นดนตรีจะจัดคิวเพลงไว้กี่เพลง เรียงลำดับเพลงได้ตามใจ
สามารถเรียกโน้ต หรือ แทป มาวางไว้ในหน้าเพลย์ลิสต์ได้
สำหรับคนที่ต้องการดูเนื้อและคอร์ดเพลง สามารถกดเปลี่ยนคีย์ได้ตามความต้องการ และหากอยากช่วยแก้คอร์ด หรือจะอเรนจ์คอร์ดใหม่ในแบบของตัวเองก็สามารถทำได้
ที่สำคัญยังสามารถเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ
ได้ใช้ด้วยฟังก์ชั่นนี้จะเปิดให้ใช้งานในเดือนกรกฎาคม 2564 นี้
และในอนาคตจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นเปียโนป๊อบ (Popular Piano)
/ฟังก์ชั่นเรียนกีต้าร์แจ๊ส (Jazz Guitar)ฯลฯ และในปี 2565 จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาร่วมสร้างคอนเทนต์ได้ตามที่ใจต้องการ และสามารถรับรายได้
จากคอนเทนต์ที่ผู้ใช้ผลิตเข้ามาได้ด้วย